การสังเคราะห์แสงของพืช
พืชอาศัยสิ่งที่เรียกว่า รงควัตถุ (pigment) [2][3] ซึี่งมีอยู่มากที่ใบของพืชจับเอาพลังงานจากแสงไว้ (ตามความเข้าใจทั่วไปมักหมายถึงแสงอาทิตย์) เพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานในการสร้างอาหาร เรียกว่ากระบวนการนี้ว่า การสังเคราะห์แสง (photosynthesis) [1]แสงอาทิตย์เป็นพลังงานที่อยู่ในรูปของแสงประกอบด้วยแสงที่ตามนุษย์มองเห็นได้ (visible light) [4] [5] และแสงที่ตามนุษย์ไม่สามารถมองเห็นได้ (invisible light) เมื่อนำเอาปริซึมไปวางขวาทางแสง visible light จะพบว่าแสงมีการแยกตัวออกเป็นแถบสีต่าง ๆ กัน (spectrum) ดังภาพ
ในการสังเคราะห์แสงของพืชไม่ได้นำเอาพลังงานจากแสงทั้งหมดไปใช้งาน แต่เลือกเอาไปเฉพาะแสงในช่วงแสงสีแดงและสีน้ำเงิน ช่วงแสงสีเขียว-เหลืองจะถูกสะท้อนออกมา ซึ่งทำให้พืชถูกมองเห็นเป็นช่วงของสีเขียวและเหลืองมากกว่าสีอื่น
นักวิทยาศาสตร์ค้นพบอีกว่าพืชได้สะท้อนแสง invisible light ในช่วงที่เรียกว่า Near Infrared (NIR) [8][9] ออกมาเกือบทั้งหมด [6][7] ซึ่งแสงในช่วงดังกล่าวจะเปลี่ยนเป็นความร้อนและจะเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีิวิต นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้พืชสามารถมีชีิวิตอยู่ภายใต้แสงอาทิตย์ที่ร้อนมากในเวลากลางวันได้ในขณะที่มนุษย์หรือสัตว์อื่นต้องหลบหาที่กำบัง ปริมาณแสง NIR ที่สะท้อนออกมานี้มีความสัมพันธ์กับปริมาณการสังเคราะห์แสงของพืช
ปริมาณการ สังเคราะห์แสง | แสงสีแดง และน้ำเงิน | NIR | |
---|---|---|---|
พืชสุขภาพดี | มาก | สะท้อนน้อย | สะท้อนมาก |
พืชสุขภาพไม่ดี | น้อย | สะท้อนมาก | สะท้อนน้อย |
นักวิทยาศาสตร์จาก NASA ได้ใช้ความรู้นี้ในการสำรวจปริมาณพืชพรรณบนผิวโลกโดยการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับการสะท้อนแสงดาวเทียม
สิ่งที่เราทราบคือ
1. พืชใช้พลังงานจากแสงมาใช้ในการสังเคราะห์แสง2. ช่วงแสงที่พืชนำไปใช้ในการสังเคราะห์แสงคือช่วงแสงสีแดงและน้ำเงิน
3. พืชที่มีการสังเคราะห์แสงสูงจะมีการสะท้อนแสงในช่วง NIR ออกมามากกว่าพืชที่มีการสังเคราะห์แสงต่ำ
4. เราสามารถนำหลักการการสะท้อนแสงและการดูดซับแสงในช่วงดังกล่าวมาเป็นเครื่องมือบอกถึงสุขภาพของพืชได้
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น