เมื่อประมาณสองสัปดาห์ก่อนผมได้มีโอกาสเข้าไปร่วมในการอบรมการพัฒนาแอพพลิเคชั่นบน Cloud กับผู้ให้บริการรายหนึ่ง ได้พบความน่าสนใจของ Cloud หลายอย่าง และก็ข้อกังขาบางอย่างเช่นกัน ผมจะไม่อธิบายความเรื่องความหมายของ Cloud นะครับท่านสามารถศึกษาได้จากหลายเว็บ เช่น
- http://en.wikipedia.org/wiki/Cloud_computing
- http://www.compspot.net/index.php?option=com_content&task=view&id=360&Itemid=46
- http://www.it-clever.com/cloud-computing-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/
- ฯล
- ระบบการจัดซื้อฮาร์ดแวร์จะเปลี่ยนไปหรือเปล่า ? ปัจจุบันหน่วยงานหลายหน่วยงานใช้การจัดซื้อระบบฮาร์ดแวร์เข้ามาในหน่วยงาน ความสัมพันธ์ระหว่างระบบฮาร์ดแวร์กับหน่วยงานจึงเป็นแบบ one-to-one ถึงแม้เรามีระบบ Hosting แบบเช่าแต่ก็ยังจำกัดอยู่ในเรื่องของเว็บไซต์เท่านั้น หาระบบที่เป็น Software as a Service แทบไม่ได้ แต่ด้วย Cloud แบบ Public จะทำให้หน่วยงานสามารถให้บริการซอฟต์แวร์บนระบบฮาร์ดแวร์ของคนอื่นโดยไม่ต้องจัดซื้อระบบฮาร์ดแวร์เข้ามาไว้ในหน่วยงานก็ได้ นั่นคือความสัีมพันธ์ระหว่างฮาร์ดแวร์กับหน่วยงานจะเป็นแบบ one - to -many แทน ตรงนี้อาจส่งผลต่อการระบบจัดซื้อฮาร์ดแวร์ในอนาคตก็ได้ เป็นความจริงที่ว่าผู้ประกอบการ ICT ในประเทศไทยส่วนมาก (มาก ๆๆๆ) จะเป็นผู้แทนจำหน่ายฮาร์ดแวร์ ระบบการตลาดของผู้ประกอบการจะเปลี่ยนแปลงหรือไม่ (คิดมากไปหรือเปล่า ?)
- โครงสร้างต้นทุนการให้พัฒนาระบบ ICT จะเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ? ท่านที่ทำงานด้าน ICT คงจะทราบดีว่าระบบ Server ที่จัดซื้อเข้ามาใช้งานในหน่วยงานมักจะถูกใช้งานไม่เต็มความสามารถ หรือมีสร้างผลกำไรได้เต็มที่ เช่น เราซื้อระบบเข้ามา 100 บาท (ยังไม่นับต้นทุนด้านอื่น ๆ ) เวลาใช้งานจริงมักไม่ค่อยถึง 100 บาท หรือมีการคืนกำไรไม่เต็มที่ แต่ด้วยระบบ Cloud จะมีตัวแบบการจ่ายต้นทุนแบบ Pay as you go คือใช้เท่าไหรจ่ายเท่านั้น ประเด็นนี้น่าสนใจเพราะทำให้หน่วยงานสามารถคำนวณต้นทุนได้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากขึ้น เช่น ตอนช่วง peak time ระบบอาจต้องการหน่วยความจำมากขึ้่น ส่วนช่วงเวลาอื่นหน่วยความจำที่มากมากก็จะกลายเป็นหน่วยความจำส่วนเกินไป ในระบบที่เราเป็นเจ้าของทุกอย่าง เราต้องติดตั้งหน่วยความจำเพื่อรองรับรับ peak time ไว้ล่วงหน้า คือต้องจ่ายเงินซื้อมาเลย แต่ในระบบ Cloud เราสามารถกำหนดนโยบายการเพิ่มหน่วยความจำเฉพาะช่วง peak time เมื่อเลยช่วงเวลานี้ไปแล้วก็ทำการคืนหน่วยความจำส่วนเกินนี้ไปก็ได้ ซึ่งนับว่าสะดวกอย่างมาก
- สถาปัตยกรรมการพัฒนาซอฟต์แวร์จะเปลี่ยนไปมากน้อยเพียงใด ? เท่าที่ผมทราบมาการพัฒนาระบบซอฟต์แวร์แบบ Software as a Service ในประเทศไทยยังมีน้อยมาก ยังคงเป็นแบบพัฒนาขึ้นมาแล้วนำไปติดตั้งในสภาพแวดล้อมแบบใดแบบหนึ่งอยุ่ การจะใช้ Cloud คงต้องหันมาพิจารณาการพัฒนาซอฟต์แวร์ให้เป็น Service หรือให้อยู่ในแบบ on demand ให้มากขึ้น เราจะเห็นบริการแบบนี้ในเว็บต่างประเทศเยอะมากแล้ว ส่วนใหญ่จะพัฒนาด้วย FLEX, Flash หรือ Ajax กัน เช่น eyeOS, กลุ่มงาน CRM, กลุ่มงาน Content Management (ผมไม่แน่ใจว่าระบบ Market Place หรือ Payment Gateway เช่น WeLoveShopping หรือ Paysbuy จะเรียกว่า SaaS หรือเปล่า)
ข้อกังขา ทีคิดออกก็เป็นเรื่องความปลอดภัยนะครับ เพราะเราต้องไปใช้ระบบฮาร์ดแวร์เร่วมกับคนอื่น มันจะมีผลต่อระบบการรักษาความปลอดภัยหรือไม่อย่างไร ก็คงต้องติดตามกันต่อไป อีกเรื่องก็คือผู้ให้บริการในประเทศไทยยังน้อยมาก ๆ ความจริงเรื่องนี้เข้าใจได้ไม่ยากเพราะความซับซ้อนของการติดตั้งระบบนั้นเองเป็นตัวกั้นไม่ให้ผู้ให้บริการรายย่อยเกิดอยาก ตรงนี้จะมีผลต่ออัตราการให้บริการหรือเปล่า น่าคิดเหมือนกัน เพราะถ้าเราตัดสินใจย้ายระบบของเราไปอยู่บน Cloud ก็จะเหมือนการแต่งงานน่ะ ต้องคิดให้ดีเหมือนกันก่อนเลือกคุ่ชีวิตใช่ไหม
สำหรับระบบ TOSAKUN MEETING ตอนนี้ได้ทำการทดสอบกับระบบ Cloud แล้ว ครับแต่ยังอยู่ในรูปแบบเอามาใช้แทน Hosting อยู่ ยังไมได้ก้าวไปเป็น SaaS สิ่งแรกที่เราพบก็คือต้นทุนเราลดลงไปค่อนข้างชัดเจนมาก ครับ แต่ด้วยความที่มันเป็น Virtualization ทำให้เราพบว่าบางเวลา performance ตกลงมามาก นั่นอาจเป็นเพราะมีการใช้งานจากระบบอื่นมาก หรือการประมวลผลไม่ได้เกิดขึ้นที่ Server ที่อยู่ในประเทศไทยก็ได้
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น