ข้อจำกัดของ Client / Server Online Meeting ตอนที่ 2

กลับมาสู่สภาำพชีิวิตปรกติในกรุงเทพ ฯ แล้วครับ มาพูดเรื่องข้อจำกัดของ client / server online meeting กันต่อนะครับ คราวก่อนได้กล่าวถึงเรื่องจำนวนวิีดีโอที่ server ต้องสร้างและตัว data package ที่ส่งผลต่อข้อจำกัดของระบบ คราวนี้มาว่ากันต่อเรื่องอิทธิพลทางด้าน client กันบ้าง

 อิทธิพลที่ 1 : ระยะทางระหว่าง client กับ server ระยะทางในที่นี่้ไม่ได้หมายถึงระยะที่เราใช้วัดกันเวลาเดินทางนะครับแต่เป็นระยะทางที่ข้อมูลใช้ในการเดินทางจาก client ไปสู่ server ระยะทางนี้อาจแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับระยะทางที่เราเห็นด้วยตา เช่น ถ้าใช้บริการของ Internet provider คนละเจ้ากันถึงแม้ว่าวางเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ติดกันข้อมูลก็อาจต้ัองเดินทางหลายสิบกม.กว่าจะมาถึงกัน ดังนั้นถ้าหากข้อมูลใช้เวลาในการเดินทางจาก client ไปยัง server น้อยเท่าใดก็ย่อมได้รับ response time จาก server ที่ดีเท่านั้น ที่นี้ลองนึกภาพดูว่าในกรณีที่ผู้เข้าร่วมประชุมอยู่กันละที่และใช้ Internet Provider คนละเจ้าแต่ละ client ก็อาจได้รับ response time จาก server ที่ไม่เท่ากันด้วย client ที่อยู่ใกล้กว่าก็จะได้รับข้อมูลเร็วกว่าหรือ performance ที่ดีกว่าด้วยซึ่งตรงกันข้ามกับคนที่ไกลกว่า  ผลที่ตามมาก็คือการรอข้อมูลระหว่างกัน ท่านที่เคยทดสอบ online meeting มาแล้วอาจจะนึกภาพออกว่าทำไมผู้เข้าร่วมประชุมบางคนถึงไม่เข้ามาในระบบสักที

อิทธิพลที่ 2 : เป็นเรื่องต่อเนื่องจากอิทธิพลที่ 1 แต่เป็นเรื่องทางด้านพฤติกรรม คนที่่ได้รับ performance ที่ดี มักจะใช้สิ่งนั้นอย่างเต็มที่ โดยส่วนมากที่ผมพบก็คือการพยามยามเพิ่มความละเอียดของภาพ การเพิ่มจำนวน frame ของภาพ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นการเพิ่ม bandwidth หรือปริมาณข้อมูลเข้าไปในระบบมากขึ้น ทำให้คนที่อยู่ไกลหรือ performance ไม่ดีพอยิ่ีงเหมือนอยู่ไกลออกไปอีก ในที่สุดก็อาจจะหลุดออกจากระบบไปเลยก็มีเพราะ waiting time สูงมากจนระบบต้องตัดทิ้งไปเพราะเข้าใจว่าการสื่อสารล้มเหลว

อิทธิพลที่ 3 : เป็นความจริงที่มักถูกมองข้าม ในการประชุมส่วนใหญ่แล้วมักจะมีการพูดทีละคนและมีช่วงเวลาของความเงียบค่อนข้างมาก (ถ้าไม่มีการโต้แย้งกันมากเกินไป) ทำให้ข้อมูลเสียงที่เข้าสู่ระบบมักจะคงที่ และในช่วงเวลาของความเงียบก็จะไม่มีข้อมูลเสียงในระบบนั้นคือไม่ต้องการ bandwidth สำหรับเสียง ทางตรงข้ามไม่ว่าจะอยู่ในช่วงที่มีการพูดหรือไม่มีการพูดข้อมูลภาพจะมีอยู่ตลอดเวลา นั้นตือระบบต้องการ bandwidth สำหรับข้อมูลภาพตลอดเวลา และข้อมูลภาพจะใช้ bandwidth มากกว่าข้อมูลหลายเท่าตัว หากการประชุมนั้นใ้ช้เวลานานแต่มีการพูดจากันน้อยก็เท่ากับว่าเราใช้ทรัพยากรของระบบส่วนใหญ่ไปสร้างข้อมูลที่ได้ประโยชน์น้อย  และเป็นเหตุผลหนึ่งที่ประชุมทางเสียง Voice Conference ยังเป็นที่ต้องการอยู่

จากที่กล่าวมาไม่ได้เป็นการโจมตีระบบ online meeting ไม่ได้หมายถึงว่าจะไม่ใช้งาน online meeting กัน แต่เป็นการชี้ให้เห็นถึงข้อเท็จจริงทางด้านขีดจำกัดของระบบซึึ่งหากนำข้อมูลมาประกอบกับความจำเป็นที่ต้องมี online meeting ด้วยแล้วทำให้เราซึ่งเป็นนักพัฒนาระบบต้องหาระบบใหม่ที่เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงมากขึ้น จัดวางระบบให้เหมาะสมกับทรัพยากรที่มีอยู่ และนี่เป็นเหตุผลที่ผมได้แนะนำเรื่องการใช้ online meeting เสมอว่า เหมาะกับการใช้ประชุมแบบไม่เป็นทางการมากนัก การติดตามงาน การระดมความคิด เพื่อนำไปสู่การประชุมที่เป็นทางการกว่า

ความคิดเห็น