ความนำ
หลายวันมานี้ผมใช้เวลาพักเที่ยงและตอนเย็นเดินสำรวจร้านหนังสือดัง ๆ ในกรุงเทพ ฯ หลายแห่ง เพื่อสำรวจหาหนังสือที่กล่าวถึงเรื่องหุ่นยนต์ในภาษาไทย พบอยู่หลายเล่มจากหลายสำนักพิมพ์ครับ แต่หากเทียบกับประชากรหนังสือเรื่องอื่นแล้วต้องบอกว่า "น้อยมาก" บางร้านมีจำหน่ายอยู่เยอะพอสมควร แต่ก็ชอบเอาไปวางไว้ที่สูงเกินกว่าระดับสายตาคนทั่วไปจะมองเห็นได้ เนื่องจากสินค้าที่ขายไม่ค่อยออก คนขายก็เลยต้องใช้พื้นที่ไปจัดวางหนังสือที่ขายได้ง่ายกว่า ก็เป็นธรรมดา
ผมเป็นคนที่ไม่มีพื้นฐานทางด้าน robotics มาโดยตรง เพียงแต่มีความสนใจ ศึกษาด้วยตนเองแต่ก็ไม่ได้ลึกซึ้งมากนัก ปัจจุบันเวลาไปไหนมาไหนลองสังเกตุดูก็จะพบว่าเราเองนั้นล้อมรอบด้วยสิ่งที่อาจเรียกว่า "robot" หรือ "หุ่นยนต์" ได้ทั้งในบ้านและนอกบ้าน เช่น เครื่องซักผ้า หม้อหุงข้าว พัดลม เครื่องปรับอากาศ แขนกั้นรถยนต์อัตโนมัติ ตู้ ATM ฯล เพียงแต่รูปลักษณ์ของสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ไม่เหมือนหุ่นยนต์ในภาพยนต์หรือการ์ตูนเท่านั้นเอง ก็เลยเป็นแรงจูงใจให้ผมสนใจเรื่องการศึกษาและพัฒนางานเรื่องหุ่นยนต์มากขึ้นอีก
จากที่กล่าวไปแล้วว่าหนังสือที่ให้ความรู้เรื่องนี้มีน้อยมาก แต่หาอ่านในเว็บภาษาอังกฤษจะมีเยอะมากจนคนเริ่มศึกษาใหม่ ๆ หรือคนนอกวงการอย่างผมจะสับสนว่าควรจะเริ่มจับตรงไหนก่อน และอีกอย่างด้วยความที่เป็นภาษาอังกฤษก็จะทำให้ยากมากขึ้นไปอีกสำหรับเด็กอีกด้วย ดังนันก็เลยทำให้ผมอยากเขียนบทความเรื่อง "หุ่นยนต์" ขึ้นมา และจะเขียนในมุมมองของคนที่ไม่ได้พื้นฐานมาโดยตรงแต่สนใจที่จะศึกษาและพัฒนางานเรื่อง "หุ่นยนต์"
การศึกษาเรื่องอะไรก็ตามผมมักจะเริ่มต้นจากความหมายและความสำคัญของเรื่องนั้นก่อน ดังนั้นผมก็จะขอเริ่มต้นจากความหมายของหุ่นยนต์ก่อนเลย
ภาพหุ่นยนต์ ดินสอ จากเว็บไซต์ http://www.tlcthai.com
ภาพหุนยนต์ wheel chair จากเว็บ http://www.gotoknow.org
หุ่นยนต์คืออะไร
มีผู้รู้้หลายท่านได้ให้ความหมายของหุ่นยนต์ หรือ robot ไว้หลากหลายขึ้นกับว่าจะจับเอาตรงไหนมานิยามกัน ส่วนตัวผมมองว่าสิ่งที่เรียกว่าหุ่นยนต์นั้นมีลักษณะดังนี้
- เป็นอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ (เป็นองค์ประกอบที่ผมสังเกตุว่าต้องมีในหุ่นยนต์ทุกแบบ)
- สามารถรับรู้หรือรับข้อมูลจากสิ่งแวดล้อม เช่น เวลา อุณหภูมิ ความร้อน ความกดอากาศ แรงกด ความเข้มสนามแม่เหล็กโลก ฯลฯ ได้
- สามารถโต้ตอบกับสิ่งแวดล้อมหรือทำกิจกรรมได้ เช่น การยกแขนที่กั้นรถยนต์ การหยุดทำงานของเครื่องซักผ้า การหยุดต้มน้ำของกาต้มน้ำ ฯลฯ
- มีวัตถุประสงค์ในการทำงานชัดเจน เนื่องจากในปัจจุบันเรายังไม่มีวิทยาการที่จะสร้างหุ่นยนต์ที่ทำทุกอย่างได้ในตัวเดียว ดังนั้นในการสร้างหุ่นยนต์ก็เลยเหมือนกับการตอบปัญหาข้อเดียวไปก่อน
ที่นี้ท่านลองเอาลักษณะเหล่านี้ไปเทียบดูกับสิ่งที่มีอยู่รอบ ๆ ตัวเราในชีวิตประจำวันซิครับ จะพบว่ามันมีเยอะเลยนะ
รูปแบบของหุ่นยนต์
อีกเช่นเคย มีแบ่งกลุ่มหุ่นยนต์ได้หลายแบบขึ้นกับว่าเราจับอะไรมาใช้ ผมก็อาศัยหลักการเคลื่อนที่เพราะมันสังเกตุได้ง่าย รูปแบบที่เห็นได้ทั่วไปคือ
1. แบบมีล้อ
คือหุ่นยนต์ที่เคลื่อนที่ด้วยล้อ ตัวที่ดังที่สุดผมว่าน่าจะเป็น Curiosity นะ2. แบบใช้สายพาน
3. แบบใช้ขา
เท่าที่ประสบมาด้วยตัวเองก็จะพบว่าหุ่นยนต์มีขาได้ตังแต่ 1 ขา ไปจนถึง 8 ขา
4. พวกบินได้
ปัจจุบันพบได้ทั้่งที่้ใช้ปีกแบบเครื่องบิน เฮลิคอปเตอร์ ปีกนก และแมลง คนไทยก็เคยสร้างหุ่นยนต์ที่บินได้แบบค้างคาวมาแล้วครับ เสียดายที่ผมหาข้อมูลมาสนับสนุนไม่ได้
5. พวกดำน้ำ (ไม่ใช่พวกชอบมั่วนิ่มนะ)
ผิวโลกเราเป็นน้ำซะ 3 ใน 4 ส่วนแล้ว ดังนั้นเดาได้เลยว่าอีกหน่อยประชากรหุ่นยนต์พวกนี้น่าจะมีเยอะที่สุด ภาพยนต์เรื่อง Titanic ก็ได้อาศัยเจ้าหุ่นยนต์ที่ดำน้ำได้นี่แหละมาช่วยหาข้อมูลการออกแบบฉาก (คนดำไปกับเรื่อดำน้ำบ่อยไม่ได้ อันตราย)
6. พวกไม่เคลื่อนที่ (แต่เคลื่อนไหว)
จะพบมากในโรงงานอุตสาหกรรม หรือที่กั่นรถยนต์ เป็นต้น
พวกที่นำมาใช้กับคนพิการก็อาจจะรวมไว้ในกลุ่มนี้ได้เหมือนกัน
7. พวกอื่น ๆ
หุ่นยนต์พวกนี้ยังมีจำนวนน้อยมากเมือเทียบกับการเคลื่อนที่แบบที่กล่าวมา เป็นการเคลื่อนที่แบบใหม่ (เก่าสำหรับสัตว์) เช่น การเลื้อย การกระโดด การกลิ้ง หรือเป็นการประสมการเคลื่อนหลายแบบไว้ด้วยกัน
ประโยชน์ของการศึกษาหุ่นยนต์
ในการศึกษาเรื่องหุ่นยนต์นั้นต้องอาศัยองค์ความรู้หลายเรื่องประกอบกันได้แก่ คอมพิวเตอร์ คณิตศาสตร์ วิศวกรรม ฟิสิกส์ ศิลปะ และที่สำคัญคือ "ความสนุก" ในต่างประเทศมีการตื่นตัวในการศึกษาเรื่องนี้มานานแล้ว คงไม่ต้องบอกว่าในระดับอุตสาหกรรมนั้น หุ่นยนต์มีความสำคัญขนาดไหน ด้านสังคมเองหุ่นยนต์ก็มีบทบาทมากเช่นกัน ยกตัวอย่างประเทศญี่ปุ่นที่มีผู้สูงอายุจำนวนมากแต่ขาดแคลนแรงงานที่จะไปดูแล ก็ต้องอาศัยหุ่นยนต์เป็นแรงงานแทน ในการทำงานที่เสียงอันตรายมาก หรืองานที่ซ้ำซากก็มีการผลักภาระการทำงานเหล่านี้ให้กับหุ่นยนต์เช่นกัน
วิดีโอแสดงตัวอย่างการพัฒนาหุ่นยนต์ของเราเอง
การศึกษาและพัฒนางานด้านหุ่นยนต์ไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานโดยตรง คนทั่วไปสามารถเริมต้นศึกษาได้ด้วยตัวเองแล้วเพราะความก้าวหน้าทางวิทยาการได้เปิดโอกาสนี้แล้ว ปัจจุบันได้มีความพยายามที่จะสอนเรื่องนี้กันตั้งแต่ชั้นประถมกันเลย (ในประเทศไทยเองก็เริ่มมีการตื่นตัวกันแล้วในระดับอุดมศึกษา แต่ในระดับประถมวัยยังมีน้อยมาก) การศึกษาเรื่องหุ่นยนต์ในระดับปรถมวัยไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กสร้างหุ่นยนต์ได้ แต่เป็นการเตรียมความพร้อมให้กับเด็กด้านต่าง ๆ เช่น การวิเคราะห์ การคิดเป็นระบบ ความคิดสร้างสรรค์ การถ่ายความคิดไปสู่การปฎิบัติ และที่สำคัญคือเป็นการเปิดโอกาสได้เด็กได้ฝึกการอภปรายและการใช้เหตุผลเชิงสังคม สิ่งเหล่านี้จะนำพาให้เด็กได้เติบโตขึ้นมาพร้อมรับสังคมยุคใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงสูงและเป็นสังคมที่ใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ในการตัดสินใจ
การตืนตัวเรื่องหุ่นยนต์ในกลุ่ม AEC
ส่วนตัวผมแล้วไม่ได้มีข้อมูลเชิงลึกอะไรเกียวกับการศึกษาและพัฒนางานเกี่ยวกับหุ่นยนต์ของประเทศในกลุ่ม AEC ก็ได้แต่เพียงติดตามจากข่าวทั่วไป ซึ่งก็พอจะมองออกได้ว่าเกือบทุกประเทศเขาสนใจและตืนตัวเรื่องนี้กัน ถ้ามองแบบลำเอียงนิด ๆ ก็จะเห็นว่าไทยเราออกจะล้ำกว่าคนอื่นเขาเล็กน้อย เป็นเรื่องที่น่ายินดีและควรให้การส่งเสริมและพัฒนากันต่อไป
ในภาคนี้คงกล่าวไว้เท่านี้ก่อนครับ เอาไว้หาข้อมูลได้แล้วค่อยมาว่าต่อกันในภาคถัดๆ ไป สุ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น